วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

วัดแก้วโกรวาราม


ประวัติความเป็นมา
             ประมาณ ปี พ.ศ. 2430 มีชาวพุธประมาณ 200 ครัวเรือน เข้าไปตั้งถิ่นฐาน
ณ บ้านปากน้ำ(ตลาดเมืองกระบี่แถวถนนคงคาหรือตลาดล่างปัจจุบัน) เมื่อถึงวันพระ
หรือวันสำคัญทางศาสนาทางราชการและประชาชนจะไปนิมนต์พระจากวัดบ่อพอ วัดท่านุ่น ไปทำบุญหรือประกอบพิธีทางศาสนา ต่อมาประชาชนได้ร่วมกันสร้างพำนักสงฆ์ขึ้นบริเวณบ้านปากน้ำ (พื้นที่บริเวณต้นสะเดาใหญ่ หน้าซุ้มประตูแก้วโกรพปัจจุบัน) เพื่อให้พระสงฆ์ได้พักแรม เมื่อมีพระบางรูปเข้าไปอยู่ประมาณ 3-4 เดือน ทางราชการและประชาชนจึงร่วมกันสร้างศาลา และกุฎีเพิ่มขึ้น แล้วเรียกขานพำนักสงฆ์วัดปากน้ำ เนื่องจากหมู่บ้านปากน้ำ ได้เลื่อนฐานะ



เป็นตำบล เพราะทางราชการได้ย้ายเมืองกระบี่ (ศาลากลาง) จากตำบลกระบี่ใหญ่(ตลาดเก่า) เข้าไปตั้ง ณ ตำบลปากน้ำ(บริเวณที่ตั้งศาลากลาง ,ศาล , ศาลหลักเมือง , และส่วนราชการอื่นๆในปัจจุบัน)ประมาณ พ.ศ.2440 ทางราชการ พ่อค้า ประชาชน ต่างก็ร่วมกันบูรณะและสร้างวัดปากน้ำให้เป็นวัดสมบูรณ์แบบ สมเป็นอารามประจำจังหวัด เพื่อใช้เป็นที่ถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของเหล่าข้าราชการด้วย เมืองกระบี่ขณะนั้นยังทุรกันดารยิ่ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2430-2450 หาพระไปอยู่ประจำยากพระภิกษุที่ไปอยู่ที่วัดประจำเป็นไข่ป่ามรณภาพถึง 2 รูป ในช่วง 20 ปี แรกของการก่อตั้งวัด มีพระหลายรูปที่ตั้งใจไปอยู่อย่างถาวร แต่เมื่อเข้าไปอยู่ประจำเป็นไข้ป่าแทบจะเอาชีวิตไม่รอด ต้องลากลับวัดเดิมหลายรูป นับตั้งแต่ก่อตั้งวัดปากน้ำ จนถึงพ.ศ.2450 มีพระไปอยู่เป็นเจ้าอาวาสประมาณ 5-7 รูป คือ พระอุปัชฌาย์ จากจังหวัดตรัง(ไม่ปรากฏชื่อ),พ่อท่านวัดท่านุ่นจังหวัดกระบี่,พ่อท่านหอมแก้ว ยนยาน จากเมืองสงขลา, พระบริสุทธิสีลาจารย์ (ลภ) จากจังหวัดตรัง, พระครูสตูลสมันตสมณมุนี (สมุทร) จากจังหวัดสตูล พระเถระเหล่านี้เจ้าเมืองสมัยนั้นเป็นผู้อาราธนาไปอยู่ แต่ก็อยู่ได้รูปละ 1-3 ปี ต้องลากลับถิ่นเดิม




พ.ศ.2509 กรมการศาสนา ได้ประกาศให้วัดแก้วโกรวาราม เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างระดับจังหวัด พ.ศ.2513 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันและพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา ณ วัดแก้วโกรวาราม วัดนี้จึงได้รับการพัฒนาอย่างขนาดใหญ่จากทางราชการ และประชาชนอีกวาระหนึ่ง เมื่อพระสมุห์กิ่มเดินทางจากจังหวัดภูเก็ตมาจังหวัดกระบี่ ท่านนำกิ่งพันธุ์สะเดาไปปลูกที่วัดแก้วโกรวาราม 2 ต้น ที่ท่าเรือหน้าวัด (เชิงเนินหลังโรงภาพยนตร์มหาราชปัจจุบัน) 1 ต้น ด้านเหนือโรงธรรม (ตรงหน้าซุ้มประตูพระแก้วโกรพปัจจุบัน) 1 ต้น ฉะนั้นสะเดาต้นนี้จึงมีอายุไม่น้อยกว่า 80 ปี เพื่อรักษาไข้ป่า หรือไข้มาลาเรีย ให้แก่ชาวบ้าน และพระภิกษุสามเณร




พื้นที่ตั้งวัดแก้วโกรวาราม เมื่อ พ.ศ.2451 มีประมาณ 50 ไร่ พระสมุห์กิ่มจึงขออนุญาตพระแก้วโกรพขยายพื้นที่วัดออกไป 3 ด้านด้วยกัน คือ ด้านทิศตะวันออก, ทิศตะวันตก และทิศเหนือ โดยขอความร่วมมือจากประชาชน ในการบุกเบิกพื้นที่ ระยะเวลาที่พระครูธรรมาวุธวิศษฐ์ (พระสมุห์กิ่ม) เป็นเจ้าอาวาสอยู่กว่า 20 ปี พื้นที่วัดแก้วโกรวาราม ได้ขยายออกไปปีละประมาณ 20-30 ไร่ ต่อมาในสมัยพระราชสุตกวี (สิงห์) ปกครองวัดแก้วโกรวาราม เมื่อ พ.ศ.2490-2495 ได้มีข้าราชการและราษฎรบางคน เรียนท่านว่า ที่ดินส่วนที่เป็นสวนจากด้านทิศตะวันออกจดถนนอุตรกิจ ทิศเหนือจดคลองท่าแดง ทิศใต้จดที่ดินวัด (แปลงปัจจุบัน) สภาพเป็นป่าชายเลน เป็นที่สาธารณะ วัดไม่ควรเข้าไปทำประโยชน์ หรือใช่ในกิจการใด ๆ เพราะผิดกฎหมาย พระราชสุตกวีจึงสละสิทธิ์ที่เดินแปลงดังกล่าวไป รวมพื้นที่ประมาณ 300 ไร่เศษ แต่ยังคงให้ศิษย์วัดเข้าไปตัดใบจากที่วัดได้ปลูกไว้หลายร้อยกอ เพื่นนำมามุงและซ่อมแซมหลังคาเสนาสนะอยู่ทุก ๆ ปี หลังจากนั้นประมาณ 20 ปีเศษ ประชาชนได้เข้าไปแย่งจับจองที่ดินแปลงนี้กัน จนหนังสือพิมพ์ลงข่าวว่า ข้าราชการกับประชาชนร่วมกันบุกรุกป่าชายเลน เป็นข่าวใหญ่อยู่หลายวัน มีผู้นำหนังสือไปถวายพระราชสุตกวี(สิงห์) เมื่อท่านได้อ่านข่าว ท่านจึงสั่งระงับไม่ให้ พระ – เณร หรือคนวัด เข้าไปตัดใบจากมาใช้ตั้งแต่บัดนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น